ขยายหน้าจอ
เครื่องมือ
ธนาคาร
道具中心
ระบบเหรียญ
สถิติฟอรั่ม
สถิติทั้งหมด
ipstate
ทีมงาน
管理统计
ออนไลน์
สมาชิก
ฟอรั่ม
โพสต์
คำค้น
ช่วยเหลือ
ลงทะเบียน
ชื่อผู้ใช้
UID
Email
ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
จำฉันไว้
เข้าสู่ระบบ
ลืมรหัสผ่าน
ลงทะเบียน
เมนูส่วนตัว
ปิด
กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อใช้งานส่วนนี้
เข้าสู่ระบบ
ถ้ายังไม่มีไอดี กรุณา
ลงทะเบียน
หน้าแรก
สารานุกรม
คำนวณ
โพสต์
บทความ
ผู้ใช้
ฟอรั่ม
โพสต์
ค้นหา
Karmins สารานุกรม,นานาสาระ,การศึกษา
>
ความรู้ทั่วไป
>
'หวาน' อา ..
ตั้งกระทู้
ตอบกลับ
กลับไปยังรายการ
1679
เข้าชม
0
ตอบกลับ
'หวาน' อาหารเพชฌฆาต
[คัดลอกลิงค์]
ถอยกลับ
ถัดไป
ออฟไลน์
karminsc
UID:1
สมัครเมื่อ
2011-12-26
ใช้ล่าสุด
2017-11-28
โพสต์
376
ดูโพสต์ทั้งหมด
สำคัญ
1
สเปซ
ติดตาม
ไอเทม
ผู้ดูแลระบบ
ปิด
เหรียญส่วนตัว ระบบใหม่ของเว็บ
ดูเหรียญทั้งหมด
ทราบแล้ว
ติดตาม
ข้อความ
เฉพาะโพสต์แรก
ลำดับปกติ
เครื่องมือ
ลิงก์โพสนี้
โพสต์เมื่อ: 2013-08-23
น้ำตาลที่เข้าสู่กระแสเลือดจะไปกระตุ้นศูนย์ความพึงพอใจในสมองตำแหน่งเดียวกับที่ตอบสนองต่อเฮโรอีนและโคเคน อาหารที่มีรสอร่อยออกฤทธิ์ในลักษณะเดียวกันนี้ในระดับหนึ่ง แต่น้ำตาลส่งผลร้ายอย่างชัดเจน เรียกว่าเป็นยาเสพติดชนิดหนึ่งก็ว่าได้
ริชาร์ด จอห์นสัน อายุรแพทย์โรคไต กล่าวว่า ทำไมผู้ใหญ่ทั่วโลก หนึ่งในสามถึงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ทั้งๆ ที่เมื่อปี 1900 มีเพียงร้อยละห้าเท่านั้นที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เขาถาม ทำไมผู้ป่วยเบาหวานที่เคยมีจำนวน 153 ล้านคนเมื่อปี 1980 จึงเพิ่มขึ้นเป็น 347 ล้านคนในปัจจุบัน ทำไมชาวอเมริกันจึงมีภาวะอ้วนเกินมากขึ้นทุกที เราเชื่อว่าน้ำตาลเป็นตัวการหนึ่งหรืออาจเป็นตัวการใหญ่ด้วยซ้ำ
ย้อนกลับไปเมื่อปี 1675 ตอนที่ยุโรปตะวันตกประสบกับยุคเฟื่องของน้ำตาลเป็นครั้งแรก โทมัส วิลลิส แพทย์ และสมาชิกผู้ก่อตั้งราชสมาคมแห่งอังกฤษ บันทึกไว้ว่า
ปัสสาวะของผู้ป่วยโรคเบาหวานมีรส “หวานอย่างน่าประหลาด” ราวกับมีน้ำผึ้งหรือน้ำตาลเจือปนอยู่” อีก 250 ปีต่อมา เฮเวน เอเมอร์สัน จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ชี้ให้เห็นว่า การเสียชีวิตจากโรคเบาหวานที่เพิ่มขึ้นอย่างมากระหว่างปี 1900 ถึงปี 1920 สอดคล้องกับการบริโภคน้ำตาลที่เพิ่มขึ้น
ในช่วงทศวรรษ 1960 จอห์น ยัดคิน ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการชาวอังกฤษ ได้ทำการทดลองในสัตว์และมนุษย์ติดต่อกันหลายครั้ง และพบว่า อาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูงส่งผลให้ระดับไขมันและอินซูลินในเลือดสูงซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและเบาหวาน ทว่าคำเตือนของยัดคินกลับกลืนหายไปกับเสียงคัดค้านของนักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งซึ่งแย้งว่า สาเหตุที่ทำให้อัตราผู้ป่วยโรคอ้วนและโรคหัวใจเพิ่มขึ้นคือคอเลสเตอรอลจากอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวอยู่มากเกินไปต่างหาก
ด้วยเหตุนี้จึงมีการลดส่วนประกอบที่เป็นไขมันในอาหารของชาวอเมริกันลงจากเมื่อ 20 ปีก่อน กระนั้น สัดส่วนของผู้มีภาวะอ้วนเกินในอเมริกายังคงเพิ่มขึ้น จอห์นสันและผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ กล่าวว่า สาเหตุหลักคือน้ำตาล
เมื่อไม่นานมานี้ สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งอเมริกา ได้ออกมาเตือนไม่ให้เติมน้ำตาลลงในอาหารมากเกินควรโดยให้เหตุผลว่า น้ำตาลให้พลังงาน ทว่าไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเห็นว่า คำเตือนนี้คลาดเคลื่อนไปจากประเด็นสำคัญ พวกเขาชี้ว่าการบริโภคน้ำตาลมากเกินควร นอกจากจะได้เพียงพลังงาน แต่ปราศจากคุณค่าทางโภชนาการแล้ว ยังให้โทษอีกด้วย
“เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับแคลอรี่หรอกนะครับ” โรเบิร์ต ลัสติก นักวิทยาต่อมไร้ท่อจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในแซนแฟรนซิสโก บอก “น้ำตาลเป็นพิษด้วยตัวมันเองอยู่แล้วครับ ถ้าบริโภคในปริมาณสูง”
ทางออกน่ะหรือ ก็เลิกรับประทานน้ำตาลมากเกินไปไงล่ะ เมื่อลดการบริโภคน้ำตาลลง ผลร้ายหลายอย่างย่อมหายไปด้วย ปัญหาคือ ในโลกทุกวันนี้ เราแทบเลี่ยงน้ำตาลไม่ได้เลย และนั่นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การบริโภคน้ำตาลพุ่งพรวด
หากน้ำตาลไม่ดีต่อเรา แล้วทำไมเราถึงอยากกินน้ำตาลนัก คำตอบแบบสั้นกระชับก็คือ น้ำตาลที่เข้าสู่กระแสเลือดจะไปกระตุ้นศูนย์ความพึงพอใจในสมองตำแหน่งเดียวกับที่ตอบสนองต่อเฮโรอีนและโคเคน อาหารที่มีรสอร่อยออกฤทธิ์ในลักษณะเดียวกันนี้ในระดับหนึ่ง ก็เพราะอย่างนี้แหละเราถึงรู้สึกว่าอร่อยนัก แต่น้ำตาลส่งผลร้ายอย่างชัดเจน เรียกว่าเป็นยาเสพติดชนิดหนึ่งก็ว่าได้
อย่างไรก็ตาม นั่นทำให้เกิดคำถามว่า เหตุใดสมองของเราจึงมีวิวัฒนาการมาให้ตอบสนองต่อสารประกอบที่อาจเป็นพิษด้วยความพึงพอใจ คำตอบอาจอยู่ในบรรพบุรุษมนุษย์วานรของเรา เมื่อความปรารถนาน้ำตาลฟรักโทสเป็นแรงกระตุ้นให้บรรพบุรุษของเราดำรงชีพอยู่ได้
เมื่อประมาณ 22 ล้านปีก่อน เรือนยอดของผืนป่าดิบชื้นในแอฟริกาเป็นถิ่นอาศัยของเอปจำนวนมาก ขณะที่ผลไม้เป็นแหล่งอาหารอันอุดมด้วยน้ำตาลหอมหวานตามธรรมชาติที่หากินได้ตลอดปี วันหนึ่งบางทีอาจเป็นช่วงเวลา 5 ล้านปีหลังจากนั้น ลมหนาวพัดผ่านสวนสวรรค์แห่งนี้ น้ำทะเลค่อยๆ กลายสภาพเป็นพืดน้ำแข็งที่ขยายตัวออกไปทุกที สันดอนจะงอยที่โผล่พ้นน้ำทะเลกลายเป็นสะพานให้เอปรักการผจญภัยไม่กี่ตัวเดินทางออกจากแอฟริกาไปตั้งถิ่นฐานในป่าดิบชื้นของยูเรเชีย แต่ความเย็นยังคงรุกคืบ ทำให้ป่าไม้ผลเขตร้อนถูกแทนที่ด้วยป่าผลัดใบ ตามมาด้วยช่วงเวลาแห่งความอดอยาก ผืนป่าเต็มไปด้วยเอปผู้หิวโหย เมื่อถึงจุดหนึ่ง เอปตัวหนึ่งก็เกิดการกลายพันธุ์ซึ่งทำให้ร่างกายสามารถแปรูปฟรักโทสได้อย่างยอดเยี่ยม แม้แต่ฟรักโทสปริมาณน้อยนิดก็สามารถจัดเก็บไว้ในรูปไขมัน ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบในการเอาชีวิตรอดในช่วงฤดูหนาวที่อาหารขาดแคลน
ต่อมาวันหนึ่ง เอปซึ่งมียีนกลายพันธุ์และหิวกระหายน้ำตาลจากผลไม้ที่แสนหายากหวนคืนสู่บ้านเกิดในแอฟริกา ก่อนจะกลายมาเป็นบรรพบุรษของเอปที่เราเห็นกันทุกวันนี้ การกลายพันธุ์ที่ว่านี้เป็นปัจจัยในการเอาชีวิตรอดที่สำคัญมาก เพราะมีแต่เอปที่มีการกลายพันธุ์นี้เท่านั้นที่รอดมาได้ ดังนั้นเอปทุกตัวในปัจจุบัน รวมทั้งมนุษย์เรา จึงมีการกลายพันธุ์ดังกล่าว การกลายพันธุ์นี้ช่วยให้บรรพบุรุษของเราดำรงชีวิตอยู่ในช่วงที่อาหารขาดแคลนได้นานหลายปี แต่เมื่อน้ำตาลแพร่มาถึงตะวันตกและส่งผลกระทบรุนแรง จึงเกิดปัญหาใหญ่ เมื่อฟรักโทสล้นโลก แต่ร่างกายเรากลับมีวิวัฒนาการมาให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยฟรักโทสปริมาณเพียงน้อยนิด
เรื่องนี้เป็นตลกร้ายดีๆ นี่เอง ในเมื่อสิ่งที่ช่วยชีวิตเราไว้อาจกลายเป็นสิ่งที่ฆ่าเราในท้ายที่สุด
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ทั้งหมด
คะแนน
แบ่งปัน
淘江湖
新浪
QQ微博
QQ空间
开心
人人
豆瓣
网易微博
百度
鲜果
白社会
飞信
สวัสดีครับ ขอต้อนรับเข้าสู่ karmins.com ครับ
ตอบ
แจ้งลบ
ตั้งกระทู้
ตอบกลับ
กลับไปยังรายการ
http://www.karmins.com/edu
การเข้าถึงเนื้อหาที่เกินขอบเขตของเว็บไซต์นี้ไม่แน่ใจว่ามันมีความปลอดภัย
ดำเนินการต่อไป
ยกเลิก
กล่องตอบกลับด่วน
จำกัด255 ตัวอักษร
สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
คุณไม่มีสิทธิ์ใช้งานส่วนนี้, กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สลับไปใช้ระบบโพส
สีข้อความ
ตั้งกระทู้
กลับไปยังหน้าแรก
ถอยกลับ
ถัดไป
ซ่อน
กระโดดไปยังฟอรั่ม
สารานุกรม
เทคโนโลยี
ธรรมะ
ประวัติศาสตร์
ธรรมชาติ
วิทยาศาสตร์
สังคม
แนะแนว-การเรียน
การเงิน-ธุรกิจ
คลังบทเรียน การศึกษา
ความรู้ทั่วไป
วิชาคณิตศาสตร์
วิชาภาษาไทย
วิชาภาษาอังกฤษ
วิชาสังคม
วิชาวิทยาศาสตร์
วิชาการงานอาชีพ
วิชาสุขศึกษา
วิชาศิลปะดนตรี
วิชาอังกฤษเพิ่มเติม
การเรียน
การเรียนให้ประสบความสำเร็จ
เทคนิคพัฒนาการความคิด
แนวข้อสอบ
แนวข้อสอบเข้าม.ต้น
แนวข้อสอบเข้าม.ปลาย
แนวข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย
ปิด
ปิด
เลือก
1
บทความ
เลือกทั้งหมด