ขยายหน้าจอ
เครื่องมือ
ธนาคาร
道具中心
ระบบเหรียญ
สถิติฟอรั่ม
สถิติทั้งหมด
ipstate
ทีมงาน
管理统计
ออนไลน์
สมาชิก
ฟอรั่ม
โพสต์
คำค้น
ช่วยเหลือ
ลงทะเบียน
ชื่อผู้ใช้
UID
Email
ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
จำฉันไว้
เข้าสู่ระบบ
ลืมรหัสผ่าน
ลงทะเบียน
เมนูส่วนตัว
ปิด
กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อใช้งานส่วนนี้
เข้าสู่ระบบ
ถ้ายังไม่มีไอดี กรุณา
ลงทะเบียน
หน้าแรก
สารานุกรม
คำนวณ
โพสต์
บทความ
ผู้ใช้
ฟอรั่ม
โพสต์
ค้นหา
Karmins สารานุกรม,นานาสาระ,การศึกษา
>
ความรู้ทั่วไป
>
ปรับท่าทา ..
ตั้งกระทู้
ตอบกลับ
กลับไปยังรายการ
1935
เข้าชม
0
ตอบกลับ
[สุขภาพ]
ปรับท่าทางร่างกาย ก่อนปวดคอ-ปวดหลังเรื้อรัง!
[คัดลอกลิงค์]
ถอยกลับ
ถัดไป
ออฟไลน์
karminsc
UID:1
สมัครเมื่อ
2011-12-26
ใช้ล่าสุด
2017-11-28
โพสต์
376
ดูโพสต์ทั้งหมด
สำคัญ
1
สเปซ
ติดตาม
ไอเทม
ผู้ดูแลระบบ
ปิด
เหรียญส่วนตัว ระบบใหม่ของเว็บ
ดูเหรียญทั้งหมด
ทราบแล้ว
ติดตาม
ข้อความ
เฉพาะโพสต์แรก
ลำดับปกติ
เครื่องมือ
ลิงก์โพสนี้
โพสต์เมื่อ: 2013-05-14
ถ้าถามว่า ใครบ้างไม่เคยปวดคอ ปวดหลัง คงเป็นการยากหากจะหาผู้ที่ไม่เคยประสบปัญหาดังกล่าวเลย เมื่อเป็นเรื่องใกล้ตัวเช่นนี้ ‘นพ.เตมีย์ เสถียรราษฎร์’ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เล่าถึงปัญหาปวดคอ ปวดหลังว่า ในความเป็นจริงแล้ว คนทุกเพศทุกวัยสามารถมีอาการปวดต้นคอและปวดหลังได้จากกล้ามเนื้ออักเสบเกร็ง ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ ในท่าเดิมๆ ร่วมกับปัจจัยร่วมอื่นๆ เช่น ความเครียด อายุ น้ำหนัก และกรรมพันธุ์ สำหรับผู้ที่มีอาการข้างต้นเป็นประจำ อาจถือเป็นสัญญาณเตือนว่าให้ปรับพฤติกรรมการใช้ร่างกาย ไม่ควรนั่งหลังงอ หรือนั่งทำงานติดต่อกันนานเกินไป และไม่ควรยกของหนัก
ปัญหาที่ว่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร คุณหมอเตมีย์ จึงอธิบายถึง
“
กระดูกคอ”
จุดเกิดเหตุ ว่า มีหน้าที่ในการเคลื่อนไหวคอในทิศทางต่างๆ เช่น ก้ม เงย หันซ้ายหันขวา หรือเอียงคอไปมา แต่เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมีการใช้งานซ้ำๆ ของกระดูกคอ จะทำให้น้ำในหมอนรองที่อยู่ระหว่างกระดูกค่อยๆ ลดลง ส่งผลให้หมอนรองกระดูกเหี่ยวแฟบและยุบตัว รับการกระแทกได้น้อยลง จากนั้นร่างกายก็จะค่อยๆ สร้างหินปูนขึ้นมาบริเวณใกล้ๆ กับหมอนรองกระดูก เพื่อช่วยในการกระจายน้ำหนักในบริเวณกระดูกคอ
สำหรับหินปูนที่เกิดขึ้นนี้พบได้ในผู้สูงอายุเกือบทุกคน เพราะเป็นกลไกของการเสื่อมที่เกิดขึ้นตามอายุ ซึ่งอาจจะไม่มีอาการใดๆ เลย ทว่ากรณีที่ปวดมาก หินปูนอาจไปกดเบียดเส้นประสาทและไขสันหลังบริเวณคอ และยังจะทำให้เกิดอาการผิดปกติทางระบบประสาทได้
และเพื่อรู้ให้ชัดๆ คุณหมอเตมีย์ แจกแจงอาการกระดูกคอเสื่อม แบ่งได้สองกลุ่ม โดยกลุ่มแรก คือ มีอาการปวดคอจากหมอนรองกระดูกเสื่อมหรือข้อต่อหลวม ส่วนกลุ่มสอง คือ มีอาการจากการกดไขสันหลังหรือเส้นประสาท ซึ่งจะมีอาการปวดร้าวจากบริเวณคอลงไปที่แขน มือ อาจพบอาการชาและอ่อนแรงของกล้ามเนื้อในบริเวณแขนด้วย
อย่างไรก็ตาม อาการปวดที่เกิดขึ้นมักจะเป็นมากเวลามีการเคลื่อนไหว หันคอ เอี้ยวคอ ในรายที่มีการกดทับไขสันหลังจะมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อแขนและขาส่งผลให้การเดินผิดปกติ และอาจมีมือเกร็งหยิบจับสิ่งของลำบากหรือเขียนหนังสือไม่ได้ ผู้ที่มีอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์เพื่อซักประวัติและตรวจร่างกาย รวมถึงตรวจเอ็กซเรย์ และการตรวจพิเศษ เช่น การตรวจภาพถ่ายรังสีคลื่นแม่เหล็ก(MRI) และการตรวจคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ (EMG)
แม้ว่าภาวะกระดูกคอเสื่อมจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปวดคอ แต่ในความเป็นจริง คุณหมอเตมีย์ ชี้ว่าคนส่วนใหญ่มักปวดคอเพราะปัญหากล้ามเนื้อมากกว่า ดังนั้นการดูแลตัวเองในเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการปวดจึงทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน เช่น ปรับท่าทางในการนั่งทำงาน ไม่นอนหมอนสูงเกินไป หลีกเลี่ยงการยกของหนัก ไม่นั่งก้มคอ หลังงอทำงาน หรือแหงนคอบ่อยๆ ไม่นั่งหลับสัปปะหงก
ท่านั่งที่ถูกต้องต้องนั่งตัวตรงโดยมองจากทางด้านข้างแนวหูจะตรงกับกระดูกสะโพก ไม่ควรนั่งทำงานติดต่อกันนานเกินไป (ควรลุกยืนหรือเดิน 5-10 นาที ทุกๆ 1 ชั่วโมง) ปรับสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานหรืองานให้เหมาะสม เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ควรปรับระดับให้ได้ความสูงที่พอดีและไม่เอนพนักมากเกินไป เก้าอี้ที่นั่งทำงานควรจะมีพนักพิงสูงถึงท้ายทอยเพื่อที่เวลานั่งทำงานจะสามารถพิงได้ถึงศีรษะ จะช่วยลดการเกร็งของกล้ามเนื้อหลังและคอ นอกจากนั้นควรหาเวลาไปออกกำลังกาย เช่น เต้นแอโรบิค เดิน ขี่จักรยาน รำมวยจีน ลีลาศ (ยกเว้นท่าที่สะบัดคอ) ว่ายน้ำ (หลีกเลี่ยงท่ากบ)
นอกจากปรับท่าทางแล้ว อย่าลืมหากิจกรรมเพื่อลดความเครียดของจิตใจ เพราะความเครียดก็ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งได้บ่อย และควรจัดสรรเวลากายภาพบำบัดร่วมด้วย เช่น การประคบร้อน อัลตราซาวด์ การบีบนวดก็ช่วยได้ แต่ถ้ารักษาในเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์
สุดท้าย คุณหมอเตมีย์ แนะท่าบริหารที่ควรทำเป็นประจำคือ การยืดกล้ามเนื้อเพื่อลดอาการปวดเกร็ง ถ้าต้องการยืดกล้ามเนื้อคอด้านขวา ให้นั่งทับมือขวาแล้วใช้มือซ้ายวางที่บริเวณหูขวา จากนั้นใช้มือซ้ายกดศีรษะให้เข้ามาชิดไหล่ซ้ายให้มากที่สุดค้างไว้ 20 วินาทีแล้วทำซ้ำข้างละ 10-20 ครั้ง โดยควรทำวันละ 2 รอบเช้าเย็นหรือก่อนนอน
ส่วนการยืดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างให้นอนหงายแล้วทำท่ากอดเข่าให้เข่าชิดอกให้มากที่สุดค้างไว้ 20 วินาทีโดยทำทีละข้างสลับกันวันละ 20 รอบก่อนนอน ท่าทางเหล่านี้ ถ้าฝึกเป็นประจำจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณคอและหลังให้ยืดหยุ่น แข็งแรง
ที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
ทั้งหมด
คะแนน
แบ่งปัน
淘江湖
新浪
QQ微博
QQ空间
开心
人人
豆瓣
网易微博
百度
鲜果
白社会
飞信
สวัสดีครับ ขอต้อนรับเข้าสู่ karmins.com ครับ
ตอบ
แจ้งลบ
ตั้งกระทู้
ตอบกลับ
กลับไปยังรายการ
http://www.karmins.com/edu
การเข้าถึงเนื้อหาที่เกินขอบเขตของเว็บไซต์นี้ไม่แน่ใจว่ามันมีความปลอดภัย
ดำเนินการต่อไป
ยกเลิก
กล่องตอบกลับด่วน
จำกัด255 ตัวอักษร
กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
คุณไม่มีสิทธิ์ใช้งานส่วนนี้, กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สลับไปใช้ระบบโพส
สีข้อความ
ตั้งกระทู้
กลับไปยังหน้าแรก
ถอยกลับ
ถัดไป
ซ่อน
กระโดดไปยังฟอรั่ม
สารานุกรม
เทคโนโลยี
ธรรมะ
ประวัติศาสตร์
ธรรมชาติ
วิทยาศาสตร์
สังคม
แนะแนว-การเรียน
การเงิน-ธุรกิจ
คลังบทเรียน การศึกษา
ความรู้ทั่วไป
วิชาคณิตศาสตร์
วิชาภาษาไทย
วิชาภาษาอังกฤษ
วิชาสังคม
วิชาวิทยาศาสตร์
วิชาการงานอาชีพ
วิชาสุขศึกษา
วิชาศิลปะดนตรี
วิชาอังกฤษเพิ่มเติม
การเรียน
การเรียนให้ประสบความสำเร็จ
เทคนิคพัฒนาการความคิด
แนวข้อสอบ
แนวข้อสอบเข้าม.ต้น
แนวข้อสอบเข้าม.ปลาย
แนวข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย
ปิด
ปิด
เลือก
1
บทความ
เลือกทั้งหมด