ขยายหน้าจอ
เครื่องมือ
ธนาคาร
道具中心
ระบบเหรียญ
สถิติฟอรั่ม
สถิติทั้งหมด
ipstate
ทีมงาน
管理统计
ออนไลน์
สมาชิก
ฟอรั่ม
โพสต์
คำค้น
ช่วยเหลือ
ลงทะเบียน
ชื่อผู้ใช้
UID
Email
ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
จำฉันไว้
เข้าสู่ระบบ
ลืมรหัสผ่าน
ลงทะเบียน
เมนูส่วนตัว
ปิด
กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อใช้งานส่วนนี้
เข้าสู่ระบบ
ถ้ายังไม่มีไอดี กรุณา
ลงทะเบียน
หน้าแรก
สารานุกรม
คำนวณ
โพสต์
บทความ
ผู้ใช้
ฟอรั่ม
โพสต์
ค้นหา
Karmins สารานุกรม,นานาสาระ,การศึกษา
>
ความรู้ทั่วไป
>
คาร์โบไฮเ ..
ตั้งกระทู้
ตอบกลับ
กลับไปยังรายการ
1701
เข้าชม
0
ตอบกลับ
[สุขภาพ]
คาร์โบไฮเดรตสุขภาพ โภชนาการ "สู้อ้วน"
[คัดลอกลิงค์]
ถอยกลับ
ถัดไป
ออฟไลน์
karminsc
UID:1
สมัครเมื่อ
2011-12-26
ใช้ล่าสุด
2017-11-28
โพสต์
376
ดูโพสต์ทั้งหมด
สำคัญ
1
สเปซ
ติดตาม
ไอเทม
ผู้ดูแลระบบ
ปิด
เหรียญส่วนตัว ระบบใหม่ของเว็บ
ดูเหรียญทั้งหมด
ทราบแล้ว
ติดตาม
ข้อความ
เฉพาะโพสต์แรก
ลำดับปกติ
เครื่องมือ
ลิงก์โพสนี้
โพสต์เมื่อ: 2013-10-01
“คาร์โบไฮเดรต” เป็นสารอาหารหลักที่ให้พลังงานกับร่างกาย ในทางวิทยาศาสตร์แบ่งคาร์โบไฮเดรตเป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามโครงสร้างทางเคมีคือ “คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว” และ “คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน” ซึ่งแต่ละกลุ่มนั้นจะมีผลดีผลเสียต่อสุขภาพแตกต่างกัน
คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว (Simple carbohydrates) มีโครงสร้างทางเคมีเป็นน้ำตาล 1-2 โมเลกุล เป็นคาร์โบไฮเดรตพื้นฐานที่สุด เมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกายมีการย่อยเพียงเล็กน้อยหรือบางชนิดไม่จำเป็นต้องย่อย ร่างกายสามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและนำไปใช้ได้เลย ได้แก่ น้ำตาลชนิดต่างๆ ที่รับประทานทั่วไป อาทิ น้ำตาลทราย (น้ำตาลซูโครส) ที่ใช้ในการประกอบอาหารต่างๆ น้ำตาลแลคโตสที่พบในนม น้ำตาลฟรุกโตสที่พบในผลไม้ ผักต่างๆ และน้ำผึ้ง น้ำตาลมอลโตสที่พบในเมล็ดพืชที่งอก
คาร์โบไฮเดรตชนิดนี้มีรสชาติหวาน จึงนำมาใช้ในการประกอบอาหาร หรือเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ที่มีรสชาติออกหวานมากมาย การรับประทานคาร์โบไฮเดรตประเภทนี้มีประโยชน์ต่อร่างกายที่ให้พลังงานอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นรวดเร็วเช่นกัน
ไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นเบาหวาน ซึ่งมีปัญหาในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จากการที่ให้พลังงานอย่างรวดเร็ว การกินอาหารประเภทนี้มากจะทำให้อ้วนง่าย ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพอื่นๆ ตามมา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วันทนีย์ เกรียงสินยศ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บอกว่า คาร์โบไฮเดรตอีกกลุ่มหนึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (Complex carbohydrates) เช่น ข้าว แป้ง ธัญพืชต่างๆ มีโครงสร้างทางเคมีที่ยาวกว่าตั้งแต่ 3-4 โมเลกุลต่อกันจนถึงต่อกันยาวมาก
“ร่างกายต้องใช้เวลาในการย่อยให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวก่อนที่จะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายที่ผนังเซลล์ลำไส้เล็ก และเข้าสู่กระแสเลือดต่อไป”
คาร์โบไฮเดรตในกลุ่มนี้ที่รู้จักทั่วไปคืออาหารประเภทแป้งเป็นหลัก ซึ่งพบว่า ยังสามารถแบ่งย่อยออกไปอีกเป็นแป้งที่ย่อยง่ายสามารถเปลี่ยนเป็นน้ำตาลในกระแสเลือดได้เร็วภายใน 20 นาที แป้งที่ย่อยได้ช้าเปลี่ยนเป็นน้ำตาลในกระแสเลือดหลัง 20 นาที ไม่เกิน 120 นาที และแป้งที่ย่อยยากเปลี่ยนเป็นน้ำตาลนานกว่า 120 นาที
“ข้าวเจ้าขัดขาวที่รับประทานทั่วไปและข้าวเหนียวเป็นข้าวแป้งที่ถูกย่อยได้ง่าย เปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้เร็ว ส่วนข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือที่ไม่ผ่านการขัดสี ข้าวโอ๊ต ขนมปังโฮลวีท ถั่วบางชนิด ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเขียว
รวมทั้งธัญพืชที่กินทั้งเมล็ดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยได้ช้ากว่า รวมทั้งมีแร่ธาตุ วิตามินและสารอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าด้วย”
สำหรับคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยยากนั้นมักรู้จักกันในคำว่า “ใยอาหาร” พบอยู่มากในเยื่อหุ้มเมล็ดและพืชผัก อาหารในกลุ่มนี้ให้พลังงานกับร่างกายน้อย แต่ก็มีประโยชน์ช่วยในการขับถ่าย นอกจากนี้ใยอาหารบางชนิดที่สามารถละลายในน้ำได้เกิดเป็นเจล จึงช่วยทำให้อาหารที่รับประทานพร้อมกันนั้นถูกย่อยช้าลง และลดการดูดซึมของน้ำตาล คอเลสเทอรอลที่เข้าสู่ร่างกายด้วย
ผศ.ดร.วันทนีย์ ย้ำว่า คาร์โบไฮเดรตที่ย่อยยากนี้ บางชนิดเมื่อผ่านจากลำไส้เล็กไปถึงลำไส้ใหญ่จะเป็นอาหารหรือถูกย่อยโดยแบคทีเรียที่มีประโยชน์ที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ได้สารบางอย่างที่กลับมาเป็นประโยชน์กับร่างกายได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนจะให้ประโยชน์กับร่างกายมากกว่าคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวอย่างมาก
หลายปีที่ผ่านมามีกระแสเกี่ยวกับการบริโภคอาหารคาร์โบไฮเดรตมีผลเสียต่อร่างกาย ทำให้มีกลุ่มคนที่ไม่รับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรต แล้วรับประทานโปรตีนมากขึ้น ในความเป็นจริงแล้วคาร์โบไฮเดรตยังมีความสำคัญกับร่างกายมาก อวัยวะในร่างกายเราต้องการพลังงานตลอดเวลา และแหล่งพลังงานที่สำคัญควรมาจากน้ำตาลกลูโคสที่ได้จากการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต
“โดยเฉพาะสมองและเม็ดเลือดแดงที่ต้องการพลังงานจากน้ำตาลกลูโคสเป็นหลัก การงดไม่กินคาร์โบไฮเดรตทำให้ร่างกายได้รับกลูโคสไม่เพียงพอ ทำให้เกิดภาวะความเป็นกรดจากการใช้ไขมันเป็นแหล่งของพลังงานมากเกินไป และเกิดความไม่สมดุลทั่วร่างกาย ถ้าเป็นเช่นนี้ในระยะเวลานานเกิดผลเสียกับร่างกายได้”
สัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสมกับร่างกายกำหนดไว้ที่ร้อยละ 50-65 ของพลังงานที่ร่างกายต้องการทั้งหมด หรือคิดเป็นคาร์โบไฮเดรตประมาณ 200-300 กรัมต่อวัน โดยเน้นให้ได้จากคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนเป็นหลัก และควรจำกัดคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวให้น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพลังงานทั้งหมด
จึงแนะนำให้รับประทานน้ำตาลแต่น้อยเท่าที่จำเป็น ไม่เกินกว่า 6 ช้อนชาต่อวัน ทั้งนี้รวมถึงน้ำตาลทั้งหมดที่ใส่ในเครื่องดื่มทุกประเภทและที่เติมในระหว่างการประกอบอาหารหรือการปรุงรสเพิ่มบนโต๊ะอาหาร
การกินคาร์โบไฮเดรตไม่ได้ทำให้อ้วน ภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนนั้นเกิดจากการที่รับประทานอาหารที่ได้พลังงานมากกว่าที่ร่างกายต้องการ จึงเกิดการสะสมเป็นไขมันในร่างกายทำให้อ้วน
คาร์โบไฮเดรตให้พลังงานน้อยกว่าไขมันประมาณครึ่งหนึ่ง คาร์โบไฮเดรตให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรีต่อกรัม ขณะที่ไขมันให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรีต่อกรัม
ดังนั้นการกินไขมันมากจะทำให้อ้วนได้ง่ายกว่า หลายคนอาจเข้าใจว่าไขมันมาจากน้ำมันที่ใช้ในการประกอบอาหารเท่านั้น แต่ที่จริงแล้วไขมันได้มีอยู่ในเนื้อสัตว์ค่อนข้างมากด้ว การกินเนื้อสัตว์มากก็จะได้ไขมันมากไปด้วย
การกินคาร์โบไฮเดรตอย่างฉลาด โดยเน้นการกินข้าวที่ไม่ผ่านหรือผ่านการขัดสีน้อย ธัญพืชทั้งเมล็ด ถั่วต่างๆ และพืชผักผลไม้ ในปริมาณที่เหมาะสมคือ ข้าวและธัญพืชต่างๆ ประมาณวันละ 6–12 ทัพพี ผัก 4–6 ทัพพี และผลไม้ 2–3 ส่วน จะทำให้ได้สารอาหารต่างๆ ที่สมดุล รวมทั้งได้รับใยอาหารและสารสำคัญต่างๆ ที่มีอยู่ในพืชผักเหล่านั้น ที่มีประโยชน์กับร่างกายด้วย
ปัจจุบันมีงานวิจัยที่ยืนยันว่า การกินพืชผักที่มากขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดและมะเร็งบางประเภทด้วย ในทางกลับกันการกินคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวจำพวกน้ำตาลมากกลับเกิดผลเสียต่อร่างกาย เสี่ยงต่อการได้รับพลังงานมากเกินไป อ้วน และเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ตับอ่อนก็จะผลิตอินซูลินออกมามากขึ้น อินซูลินจะทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดลดลงเพื่อให้ร่างกายดูดซึมเอาไปใช้ หรือนำไปเก็บไว้เป็นไขมัน
อินซูลินที่ผลิตออกมาในปริมาณมากนี้จะไปที่สมองด้วย ทำให้รู้สึกอยากรับประทานอาหารมากขึ้น ตับก็จะผลิตไขมันมากขึ้นสะสมในร่างกายมากขึ้น สิ่งที่กล่าวนี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าเลือกรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนเป็นหลัก ซึ่งร่างกายต้องใช้เวลามากขึ้นในการย่อยและดูดซึม ระดับน้ำตาลในเลือดจะอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม และทำให้ไม่รู้สึกหิวบ่อยๆด้วย
สรุปว่า เราทุกคนควรหันมารับประทานข้าวแป้งที่ไม่ขัดสีเป็นประจำ ร่วมกับผักและผลไม้อย่างเพียงพอ ทำให้ได้คาร์โบไฮเดรตที่มีคุณภาพที่ดี และเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ
ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ทั้งหมด
คะแนน
แบ่งปัน
淘江湖
新浪
QQ微博
QQ空间
开心
人人
豆瓣
网易微博
百度
鲜果
白社会
飞信
สวัสดีครับ ขอต้อนรับเข้าสู่ karmins.com ครับ
ตอบ
แจ้งลบ
ตั้งกระทู้
ตอบกลับ
กลับไปยังรายการ
http://www.karmins.com/edu
การเข้าถึงเนื้อหาที่เกินขอบเขตของเว็บไซต์นี้ไม่แน่ใจว่ามันมีความปลอดภัย
ดำเนินการต่อไป
ยกเลิก
กล่องตอบกลับด่วน
จำกัด255 ตัวอักษร
สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
คุณไม่มีสิทธิ์ใช้งานส่วนนี้, กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สลับไปใช้ระบบโพส
สีข้อความ
ตั้งกระทู้
กลับไปยังหน้าแรก
ถอยกลับ
ถัดไป
ซ่อน
กระโดดไปยังฟอรั่ม
สารานุกรม
เทคโนโลยี
ธรรมะ
ประวัติศาสตร์
ธรรมชาติ
วิทยาศาสตร์
สังคม
แนะแนว-การเรียน
การเงิน-ธุรกิจ
คลังบทเรียน การศึกษา
ความรู้ทั่วไป
วิชาคณิตศาสตร์
วิชาภาษาไทย
วิชาภาษาอังกฤษ
วิชาสังคม
วิชาวิทยาศาสตร์
วิชาการงานอาชีพ
วิชาสุขศึกษา
วิชาศิลปะดนตรี
วิชาอังกฤษเพิ่มเติม
การเรียน
การเรียนให้ประสบความสำเร็จ
เทคนิคพัฒนาการความคิด
แนวข้อสอบ
แนวข้อสอบเข้าม.ต้น
แนวข้อสอบเข้าม.ปลาย
แนวข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย
ปิด
ปิด
เลือก
1
บทความ
เลือกทั้งหมด