ไตรลักษณ์ :: อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ไตรลักษณ์ หมายถึงลักษณะ 3 ประการของชีวิต ชีวิคทุกชีวิตต้องมีลักษณะ 3 ประการนี้ เหมือนกันทั้งหมด จึงเรียกลักษณะทั้ง 3 ประการนี้ว่า สามัญลักษณะ ซึ่งหมายถึงลักษณะทั่วๆไปปรือลักษณะที่เสมอกัน เท่ากัน หรือเหมือนกันของชีวิตได้แก่

1.อนิจจตา หรือ อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยงตรง ความไม่คงที่หรือความเปลี่ยนแปลงโดยทุกสิ่งจะเปลี่ยนแปลงทุกขณะไม่มีอะไรคงที่ เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จำค่อยๆ แปรสภาพไปเรื่อยๆและดับหรือสลายตัวไปในที่สุด ดังตัวอย่างชีวิตของคนเราจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามลำดับ จะกระทั่งตาย

2.ทุกขตา หรือ ทุกขัง คือความทุกข์ ความตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เคลื่อนที่อยู่เรื่อยๆ คำว่า ตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ หมายความว่า ถึงอยากจะอยู่กับมันก็อยู่ไม่ได้เช่น คนเราเมื่อโตขึ้นเป็นหนุมสาวก็อยากหยุดอยู่แค่นั้น ไม่อยากแก่ แต่ก็หยุดไม่ได้ การที่หยุดไม่ได้นี่ก็คือ ทุกขัง

จะเห็นได้ว่า ทุกขตาหรือทุกขังมีความหมายคล้ายๆ กับอนิจจตาหรือ อนิจจัง แต่ความจริงแล้วมีความหมายแตกต่างกัน ดังตัวอย่าง

การที่ดวงอาทิตย์มีแสงอ่อนๆ ตอนเช้า แล้วค่อยๆ ร้อนจัดในตอนเที่ยง จากนั้นๆค่อยๆอ่อนแสงและความร้อนลงในตอนเย็น สภาพเช่นนี้เปรียบได้กับอนิจจัง
การที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกในตอนเช้า แล้วโ๕รงจรลับขอบฟ้าไปทางทิศตะวันตก ในตอนเย็น เปรียบได้กับ   ทุกขัง


3.อนัตตตา หรือ อนัตตา คือความไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง ความไม่อยู่ในอำนาจบังคับ สภาพที่เกิดขึ้นเพราะเหตุและปัจจัยต่างๆ ที่มาประกอบเข้าเช่น
ไม่มีมนุษญืคนใดที่จะมีอำนาจสั่งการตนเองได้ว่าไม่ให้มีโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ให้แก่ ไม่ให้ตาย สภาพเช่นนี้เรียกว่าอนัตตา คือ ความไม่อยู่ในอำนาจบังคับ เพราะะไม่มัตัวตนที่แท้จริงและเกิดขึ้นจากเหตุและปัจจัย มาประกอบกัน เมื่อใดที่องค์ประกอบเหล่าแยกออกจากกัน ความเป็ฯตัวตนหรือความเป็นมนูษย์ก็หายไป

{{ message }}

{{ 'Comments are closed.' | trans }}