การให้เหตุผล

การให้เหตุผล

ส่วนประกอบของการให้เหตุผลแบ่งเป็น 2 แบบดังนี้

1. ข้ออ้างหรือเหตุ มักปรากฏคำว่า เพราะว่า เนื่องจาก ด้วยเหตุที่ว่า ฯลฯ

2. ข้อสรุปหรือผล มักปรากฏคำว่า เพราะฉะนั้น ด้วยเหตุนี้จึง ดังนั้น ฯลฯ

ประเภทของการให้เหตุผล

การให้เหตุผลแบบอุปนัย (Inductive reasoning) เป็นการให้เหตุผลโดยอาศัยข้อสังเกตหรือผลการทดลองจากหลาย ๆ ตัวอย่าง มาสรุปเป็นข้อตกลง หรือข้อคาดเดาทั่วไป หรือคำพยากรณ์ ซึ่งจะเห็นว่าการจะนำเอาข้อสังเกต หรือผลการทดลองจากบางหน่วยมาสนับสนุนให้ได้ข้อตกลง หรือ ข้อความทั่วไปซึ่งกินความถึงทุกหน่วย ย่อมไม่สมเหตุสมผล

ข้อสังเกตของการให้เหตุผลแบบอุปนัย
  1. 1. ข้อสรุปของอุปนัย ไม่จำเป็นต้องเป็นจริงเสมอไป
  2. 2. ข้อสรุปของอุปนัยสามารถเกิดขึ้นได้มากกว่า 1 คำตอบ
  3. 3. ข้อสรุปของอุปนัยสามารถเกิดความผิดพลาดได้สูง

ตัวอย่าง
เหตุ 1.ห่านตัวนี้สีขาว
2.ห่านตัวนั้นก็สีขาว
3.ห่านตัวโน้นก็สีขาว
ดังนั้น ข้อสรุปคือ ห่านทุกตัวมีสีขาว

ตัวอย่าง
เหตุ 1.คอมพิวเตอร์ที่บ้านใช้ไฟฟ้า
2.คอมพิวเตอร์พกพาใช้ไฟฟ้า
3.คอมพิวเตอร์ในสำนักงานใช้ไฟฟ้า
ดังนั้น ข้อสรุปคือ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องใช้ไฟฟ้า

การให้เหตุผลแบบนิรนัย(Deductive reasoning)เป็นการนำความรู้พื้นฐานที่อาจเป็นความเชื่อ ข้อตกลง กฎ หรือบทนิยาม ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้มาก่อนและยอมรับว่าเป็นจริง เพื่อหาเหตุผลนำไปสู่ข้อสรุป


ข้อสังเกตของการให้เหตุผลแบบนิรนัย
  1. 1. เหตุเป็นจริง และ ผลเป็นจริง
  2. 2. เหตุเป็นเท็จ และ ผลเป็นเท็จ
  3. 3. ข้อสรุปของนิรนัยไม่ได้เป็นจริงทุกกรณีเสมอไป

ตัวอย่าง
เหตุ 1.นายจรัสเป็นมนุษย์
2.มนุษย์ทุกคนเป็นสิ่งมีชีวิต
3.สิ่งมีชีวิตต้องการอากาศหายใจ
ดังนั้น ข้อสรุป นายจรัสต้องการอากาศหายใจ

ตัวอย่าง
เหตุ 1.นางสาวกานดาเกิดจังหวัดเชียงใหม่
2.จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดท่องเที่ยว
3.จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย
ดังนั้น ข้อสรุป นางสาวกานดาเกิดในจังหวัดท่องเที่ยวภาคเหนือของประเทศไทย

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการให้เหตุผลแบบนิรนัยจะให้ความแน่นอน แต่การให้เหตุผลแบบอุปนัย จะให้ความน่าจะเป็น

{{ message }}

{{ 'Comments are closed.' | trans }}